Kokoyadi
หลงเข้ามาหน้านี้กันได้ยังไงครับ!!!
ยินดีต้อนรับสู่ Personal Blog ครับ
พื้นที่นี้สร้างไว้เก็บ Record ต่างๆ เกี่ยวกับ
ผลงาน โน๊ตบันทึกการอ่าน และ ร่องรองความคิด
ใครอยากชวนคุยอะไรก็ทาง Twitter @kokoyadi ครับ
พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ – โก้ –

My Books
ผลงานหนังสือที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องบางส่วน หรือดีใจที่มีส่วนในเล่มนั้น ซึ่งไม่มากก็น้อยแหละนะครับ 🙂

100 เรื่องต้องรู้ สู่อัจฉริยะประวัติศาสตร์ไทย
สำนักพิมพ์: Amarin Kids
(เขียน) สั่งซื้อทางนายอินทร์
สมการคอร์รัปชัน : แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย
สำนักพิมพ์: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(บรรณาธิการ)

รู้เท่าทัน AEC
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เขียน
สำนักพิมพ์: มติชน
(ทำต้นฉบับ)

พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไมเคิล ลีเฟอร์ เขียน, จุฬาพร เอื้อรักสกุล แปล-เรียบเรียง สำนักพิมพ์: ธรรมศาสตร์ (2548)
(ทำต้นฉบับ)
Work Work Work !!!
หน้าที่การงานส่วนหนึ่งที่ต้องทำ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่สู่สาธารณะครับ
Homo Gaia มนุษย์กาญ่า ฟื้นสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ที่มนุษย์เรานั้นเป็นส่วนหนึ่งเสมอมา
สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ เขียน salt พิมพ์...
The Fearless Organization – องค์กรไม่กลัว
Amy Edmondson เขียน ทิพย์นภา หวนสุริยา แปล Bookscape พิมพ์ หนังสือเล่มนี้ Edmondson ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจ ฮาร์วาร์ด นำเสนอเรื่อง “ความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา” ที่สำคัญมากในโลกที่ความรู้และนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญสำหรับความสำเร็จขององค์กร...
คุยให้ครบทุกช่วงวัย กับ “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยหนุ่มสาวขึ้น?”
กิจกรรม TDRI Annual Public Virtual Conference 2022 ตั้งโจทย์ไว้ว่า “ทำอย่างไรให้ประเทศไทยหนุ่มสาวขึ้น?” ในช่วงเสวนา ผมได้มีโอกาสชวน... คุณไครียะห์ ระหมันยะ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียศึกษา...
รวมรวบข้อมูลวีดีโอ – โพสต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการควบรวบทรู-ดีแทค
เรื่องการควบรวมทรู-ดีแทคเป็น 1 ในมหากาพย์ของการทำงานสื่อสารที่น่าสนใจเลยอยากทดไว้ว่า มีอะไรบ้างที่น่าชวนดู (+ เก็บเป็นบันทึกเท่าที่เปิดเผยได้นะครับ) อันนี้ เป็นการทำงานในส่วนของเว็บ TDRI...
โลกละลาย: เมื่อมนุษย์ไม่อาจอาศัยอยู่บนโลกได้อีกต่อไป
David Wallace-Well เขียน | ณิชาภา ชิวะสุจินต์ แปล | Cactus พิมพ์ เล่มนี้เป็นหนังสือที่ฉายภาพปัญหาโลกร้อนได้สยดสยองมาก และโดยเฉพาะความเก่งกาจในการเปรียบเทียบตัวเลขที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโลกร้อนกับเหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น...
ก้าวเฉพาะหน้า… เพื่อน้อง
เสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา กสศ. ชวนผมไปร่วมพิจารณาทุน “ก้าวเพื่อน้อง” ของพี่ตูน ซึ่งก็เป็นปีที่สองที่ได้รับคำชวนให้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน และพอเป็นปีที่ 2 เลยจับความรู้สึกและความต่างที่พอสังเกตอะไรบางอย่างได้ เลยอยากแชร์ให้ฟังกัน ...
ก่อนเลือกตั้ง มาตรวจการบ้านเดิมก่อน
ชวนอ่านงาน "ตรวจการบ้านผู้ว่าฯ คนเดิม เติมผู้ว่าฯ คนใหม่" กันครับ https://tdri.or.th/.../bangkok-governor-monitoring.../ ซึ่งงานนี้ พวกเราทีม TDRI และ UddC คุยเตรียมตัวกันตั้งแต่ต้นปีตอนที่ยังไม่ประกาศเลือกตั้งด้วยซ้ำนะครับ นักวิจัยกว่า 30 คน Zoom...
แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการและสื่อมวลชน 333 รายชื่อ เสนอเปิดเผย “ข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19 ตามหลัก Open data”
วิกฤตการณ์การระบาดของโควิด-19 สร้างความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ สาธารณสุขและสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นในระบบราชการและการบริหารจัดการของรัฐบาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม...
“ตลาดผู้ขาย” ที่ผู้ซื้อของเราช้าและผิดพลาด
จม. ที่สำนักข่าวอิศราที่เปิดออกมา นักข่าวต่างชี้ประเด็นว่า รัฐบาลขยับตัวช้า คือ เพิ่งทำสัญญาครั้งแรก ม.ค. และ พ.ค. 64 ในขณะที่ต่างประเทศ เค้าขยับกันตั้งแต่ ปลายปี 63 แล้ว หัวใจสำคัญที่คนให้ความสนใจ คือ ตารางนี้ที่ระบุใน จม....
อยู่ตรงไหนของแถว ฉีดวัคซีนประเทศไทย
9 มิ.ย. 2021 หลายคนได้รับวัคซีน ก็ยินดีด้วยนะครับ... แต่อยากฝากให้พิจารณาเพิ่มว่า ได้ฉีดนี่ ได้กันมายังไง เมื่อของมีจำกัดแล้ว เหมือนจับคน 67 คนมาต่อแถวอ่ะ คุณอยู่ตรงไหนของแถว ถ้าคุณฉีดแล้ว 1 เข็ม เป็นกลุ่ม 4 คนแรกใน 67...
12 ปี ThaiPBS ก้าวต่อไปกับ “ความท้าทายของสื่อสาธารณะบนความแตกต่างของช่วงวัย”
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปดำเนินรายการเสวนาสาธารณะ "ความท้าทายของสื่อสาธารณะ บนความแตกต่างของช่วงวัย" ซึ่งมีวิทยากรจากทุกช่วงวัยมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ “สื่อสาธารณะ” และ “ความแตกต่างของช่วงวัย” ซึ่งวิทยากรบนเวที ได้แก่ คุณ เทพชัย หย่อง...
ทำไมในม็อบเราจึงเห็นการเคลื่อนไหว นักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชาย
เมื่อวานนี้ เผอิญมีโอกาสได้เล่าเรื่อง Data Journalism ให้กับกลุ่มนักศึกษา 3 มหาวิทยาลัยที่ส่วนเป็นหนึ่งของ Data Incubator ที่อาจารย์พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพยายามผลักดันให้เกิดในวิชาของกลุ่มคณะนิเทศศาสตร์จากทั้ง...
Reading Note
ลองพยายามอ่านหนังสือ และตั้งใจว่าจะขยันทำโน้ต (เท่าที่ทำได้)
ว่าอันไหนน่าสนใจ และชวนให้ทุกคนมาอ่านหนังสือกันครับ

Homo Gaia มนุษย์กาญ่า ฟื้นสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ที่มนุษย์เรานั้นเป็นส่วนหนึ่งเสมอมา
สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ เขียน salt พิมพ์...

The Fearless Organization – องค์กรไม่กลัว
Amy Edmondson เขียน ทิพย์นภา หวนสุริยา แปล Bookscape พิมพ์ ...

Deep work ดำดิ่งท่ามกลางสิ่งรบกวน: ทักษะที่สำคัญที่สุด ในโลกที่เวลาและความสนใจมีจำกัด
Cal Newport เขียน พรรณี ชูจิรวงศ์ แปล WeLearn พิมพ์ Newport...

โลกละลาย: เมื่อมนุษย์ไม่อาจอาศัยอยู่บนโลกได้อีกต่อไป
David Wallace-Well เขียน | ณิชาภา ชิวะสุจินต์ แปล | Cactus พิมพ์ ...

เราคือ ภูมิอากาศ ภารกิจกู้โลกเริ่มต้นได้ตั้งแต่มื้อเช้า
Jonathan Safran Foer เขียน พลอยแสง เอกญาติ แปล Cactus Publishing พิมพ์...

The French Revolution ปฏิวัติฝรั่งเศส
ประโยคสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้บอกว่า “ความจริงนั้นไม่เคยบริสุทธิ์...

วิทยาศาสตร์ความอ้วน
เจสัน เฝิง เขียน | ลลิตา ผลผลา แปล | Bookscape พิมพ์ ...

จากปีศาจสู่เชื้อโรค: ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย
ชาติชาย มุกสง เขียน | สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์...

The World without us – เมื่อโลกไม่มีเรา
Alan Weisman เขียน | สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์ แปล | Salt พิมพ์ ถ้าหนังสือ sapian...
สัปดาห์ไปตรวจทุนก้าวคนละก้าวของพี่ตูนกับ กสศ. มา ซึ่งจัดมาแล้วสามปี ทุกปีก็จะอ่านเนื้อหาประวัติ เรื่องราว และการตอบคำถามของเด็กๆ ที่ขอทุนมาจากที่ต่างๆประมาณ 50 คนจากทั่วประเทศ (จริงๆ มีผ่านเข้ามา 300 กว่าคน แต่แบ่งๆ กันอ่านหลายๆ กลุ่ม) อ่านคัดทุนมาสามปีติด ทุกปีที่อ่านก็พยายามตั้งคำถามกับตัวเองเยอะๆ ว่าเรามองหาอะไร มีเกณท์หรือคิดยังไงกับน้องๆ แต่ละคนที่ได้อ่าน ในภาพใหญ่ เราก็พยายามดูว่าเด็กแต่ละรุ่นปีมีปัญหาที่เหมือนหรือต่างกันยังไงบ้าง สิ่งที่เหมือนอยู่กับปีที่ผ่านมาคือเรื่องความฝันของเด็กๆ ที่เขียนตอบคำถามมาว่า “ถ้ามีพร 3 ข้อจะขออะไรกัน” ก็จะเป็นปัญหาเดียวกับปีที่แล้วคือเป็นคำขอได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และเป็นเรื่องที่อยู่กับตัวเองและปัญหาของในครอบครัวเป็นหลัก เช่น ให้ครอบครัวสุขภาพแข็งแรงให้ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาให้ตัวเองได้ทุนให้ตัวเองได้เรียน ได้การงานดีและมีรายได้ดี ที่ต่างจากปีแรกที่ฝันเชื่อมโยงกับสังคมมากกว่า เช่น ฝันให้หมู่บ้านดี มีสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่มีปัญหายาเสพติด แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเวลานักการศึกษาจะพูดว่าปัญหาการศึกษาของเด็กยุคโควิดเป็น เด็กยุค Lost Generation เด็กเกิด learning loss หรือ ‘ภาวะการเรียนรู้ถดถอย’ ในทางวิชาการ ภาพจริงๆ มันคือเรื่องพื้นฐานแบบนี้แหละ
“10 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก” วรรคนี้ อ.ชาญวิทย์ ใช้บ่อย ก่อนรู้สึกว่ามันยากจังที่จะใช้อะไรแบบนี้กับตัวเอง แต่มันมาถึงแล้ว เพราะวันนี้เป็นวันที่เราทำงานให้กับทีดีอาร์ไอครบ 10 ปีพอดี ขอบคุณอ.ปกป้องที่แนะนำและชวนให้ได้ไปคุยกับ อ.สมเกียรติจนได้มาร่วมงานกับทีดีอาร์ไอนะครับ เป็น 10 ปีที่สนุก ได้ลองทำอะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อน และได้เรียนรู้เยอะมาก และตอนนี้ตัดสินใจชัดแล้วว่าจะทำงานกับทีดีอาร์ไอถึงช่วงสงกรานต์นี้นะครับ หลังจากนี้ จะพักยาวๆ แบบยังไม่ต้องคิดมากว่าจะทำอะไรต่อ หรือ ทำอะไรดี แต่จะให้เวลากับตัวเองมากๆ ในการคิดและไปต่อ ขอบคุณทุกคนที่ได้เจอในช่วงสิบปีที่โคตรดีสำหรับเราเลยนะครับ ป.ล. เขียนยาวไม่ได้ เด๋ว emotion 555+