by kokoyadi | Oct 27, 2022 | Works
เรื่องการควบรวมทรู-ดีแทคเป็น 1 ในมหากาพย์ของการทำงานสื่อสารที่น่าสนใจเลยอยากทดไว้ว่า มีอะไรบ้างที่น่าชวนดู (+ เก็บเป็นบันทึกเท่าที่เปิดเผยได้นะครับ)
อันนี้ เป็นการทำงานในส่วนของเว็บ TDRI
ที่เป็นครั้งแรกที่เลือกใช้กราฟฟิกจากทีม iLaw คือ น้องฟ้าที่มีลายเส้นสวยงามน่าประทับใจมาก
อันนี้เป็นคลิปที่คุยกับ The standard ว่าเรื่องนี้ต้องเล่นนะครับ เลยได้คลิปออกมา 2 คลิป ในเวอร์ชั่น อ.สมเกียรติเล่าเอง กับ คุณอ๊อฟของ The Standard ที่ช่วยรวบรวมประเด็นไว้
VIDEO
VIDEO
ส่วนอันนี้ ยกความครีเอทให้ คุณเค๊ก ของ WorkPoint ที่เอาของเล่นมาช่วยเป็น Prop ในการอธิบายตัวละครต่างๆ
VIDEO
ส่วนอันนี้ คือ ขุ่นแม่ เสาหลักวงการสื่อ คุณจอมขวัญลุยเองครับ ในรายการ นิติพิศวง
VIDEO
และหลัง มติของ กสทช. ออกมา สรุปว่า “ควบรวม” จากคำตัดสินมติเป็น 2-2-1 ไม่ใช่ 3-2
ที่ผลการลงคะแนนเสียงครั้งนี้ ก็ดีตรงที่ฉีกหน้ากากออกมาเลยว่า…
“กสทช.” ที่เป็นตัวแทนของการคุ้มครองผู้บริโภค และตัวแทนของการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ สองคนนี้ ลงคะแนน “สนับสนุนควบรวม”
สิ่งที่น่าทดไว้คือ ความเห็นส่วนตัวในการลงคะแนน
คนแรกที่เปิดก่อน คือ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต โพสใน facebook ไว้ว่า
“…ในทางกฎหมาย การตัดสินใจสงวนความเห็นที่จะรับทราบการรวมธุรกิจ และยืนยันที่จะไม่อนุญาต เพราะเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการถือครองธุรกิจประเภทเดียวกันซึ่งสามารถส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแง่การลดหรือจำกัดการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องค่ะ
เหตุผลสนับสนุนมี 7 ข้อหลักดังต่อไปนี้ค่ะ
1) เมื่อรวมธุรกิจ TRUE และ dtac แล้ว จะทำให้เกิดบริษัทใหม่ (NewCo) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC) และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ดังนั้น ทั้ง TUC และ DTN จะกลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีความความสัมพันธ์กันทางนโยบาย หรืออำนาจสั่งการเสมือนเป็นหน่วยธุรกิจเดียวกัน (Single Economic Entity) ที่ไม่มีการแข่งขันระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ทั้งนี้ ก่อนการรวมธุรกิจ TUC มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 31.99 และ DTN มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 17.41 ภายหลังการรวมธุรกิจ NewCo จะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 49.40 และทำให้ในตลาดเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย หรือเกิดสภาวะ Duopoly
2) SCF Associates Ltd. ที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันและนโยบายการสื่อสารระดับโลกสรุปว่า จากการศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคมากกว่าข้อดีที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งมาตรการเฉพาะเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถเป็นจริงได้ทั้งหมดในบริบทของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย เช่น การสนับสนุนให้เกิดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNO) รายใหม่, การส่งเสริมการแข่งขันในตลาดค้าส่ง, การร่วมใช้คลื่น (Roaming) และการโอนคลื่นความถี่ (Spectrum Transfer) เป็นต้น
ในบริบทของเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องลดช่องว่างทางดิจิทัลอย่างประเทศไทย โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์ที่คนใช้มากที่สุดเพื่อเชื่อมต่อออนไลน์ การรวมธุรกิจซึ่งจะนำไปสู่การกระจุกตัวของตลาด และโอกาสที่ค่าบริการจะสูงขึ้น จึงไม่สมควรอนุญาตด้วยเหตุผลเพื่อการพัฒนาประเทศที่ต้องพึ่งพิงตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการแข่งขันสูงและเป็นตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจ
3) การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจภายใต้เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะต่างๆ ที่บังคับผู้ขอรวมธุรกิจนั้น ไม่น่าจะช่วยเพิ่มระดับการแข่งขันในตลาดได้ และอาจเป็นไปได้ยากในภายหลังจากการควบรวม โดยในส่วนของ กสทช. ก็จะต้องใช้อำนาจทางกฎหมายและทรัพยากรในการกำกับดูแลอย่างมาก โดยไม่อาจคาดหมายได้ว่าเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดได้เช่นเดียวกับที่เคยมีอยู่ก่อนการควบรวมหรือไม่
4) ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงประโยชน์ต่อสาธารณะ จากเอกสารประกอบการขอรวมธุรกิจ ยังไม่ชัดเจนและเพียงพอ
5) การรวมธุรกิจมีโอกาสนำไปสู่การผูกขาดและกีดกันการแข่งขัน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40, 60, 61 และ 75 และขัดต่อแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 ที่ต้องเพิ่มระดับการแข่งขันของการประกอบกิจการโทรคมนาคม
6) การให้รวมธุรกิจจะส่งผลกระทบกว้างขวางและต่อเนื่องในระยะยาว อีกทั้งยังหวนคืนไม่ได้ เพราะตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยอยู่ในภาวะอิ่มตัว ทำให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดและเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดได้ยาก เช่นกรณีการรวมธุรกิจของเม็กซิโกและฟิลิปปินส์ ตามรายงานของที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องยากที่จะหวนคืนจากภาวะผูกขาดโดยผู้ประกอบการหนึ่งหรือสองรายไปสู่สภาพการแข่งขันก่อนการรวมธุรกิจ
7) หนึ่งในผู้ขอรวมธุรกิจมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจใกล้ชิดกับกลุ่มธุรกิจครบวงจร (Conglomerate) รายใหญ่ ซึ่งครอบครองตลาดสินค้าและบริการในระดับค้าปลีกและค้าส่งของทั้งประเทศ จึงมีโอกาสที่จะขยายตลาดโดยใช้กลยุทธ์ขายบริการแบบเหมารวม ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกันกับผู้ประกอบการรายอื่น…”
https://www.facebook.com/pirongrong.ramasoota/posts/pfbid0Ryvrwv1gQfZin71KcxSxp1zGAKvtAYKkTxU4ucZrCGzmE3UfejT8DEAp8Tp5BeB5l
ส่วน รศ. ศุภัช ศุภชลาศัย กรรมการด้านเศรษฐศาสตร์ สรุปประเด็นข้อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และความเห็นทางเศรษฐศาสตร์ เรื่องการควบรวมกิจการทรูและดีแทค ไว้ 6 ประเด็นดังนี้
1. ในทางกฎหมาย กสทช.มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการรวมธุรกิจ ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 ประกอบกับข้อ 8 ของประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549
2. การรวมธุรกิจระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมีค่าดัชนี Herfindahl-Hirschman Index (HHI) มากกว่า 2,500 และเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 100 ไม่ว่าจะคำนวณมาจากส่วนแบ่งตลาด ซึ่งคิดจากจำนวนผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการในตลาดแต่ละราย หรือส่วนแบ่งตลาดจากรายได้ของผู้ให้บริการก็ตาม
โดยผลการศึกษาซึ่งคำนวณค่า HHI จากจำนวนผู้ใช้บริการ พบว่าตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ หลังการรวมธุรกิจ HHI เพิ่มขึ้นจาก 3,612 เป็น 4,725 หรือเพิ่มขึ้น 1,113 และตลาดบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นจาก 3,511 เป็น 4,745 หรือเพิ่มขึ้น 1,234
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อตลาดต้นน้ำในระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยตลาดบริการการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลังการรวมธุรกิจ HHI เพิ่มขึ้นจาก 3,773 เป็น 5,000 หรือเพิ่มขึ้น 1,227 ตลาดบริการขายส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นจาก 2,979 เป็น 3,393 เพิ่มขึ้น 414 และตลาดบริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพิ่มขึ้นจาก 3,356 เป็น 5,024 หรือเพิ่มขึ้น 1,668
3. มีความเป็นไปได้สูงที่การรวมธุรกิจจะก่อให้เกิดการร่วมมือกันทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดอำนาจตลาดสูง (Collusion) ซึ่งจะส่งผลต่อการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ยาก หรือไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้าสู่ตลาด
4. ผลกระทบจากการรวมธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมมีสูงมาก ซึ่งประกอบด้วย
อัตราค่าบริการ (Price) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และทางเลือกในการรับบริการน้อยลง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) มีแนวโน้มลดลง และจะไม่ส่งผ่านไปสู่ผู้บริโภค ผู้รวมธุรกิจไม่มีแรงจูงใจในการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี หรือถ้ามีก็ล่าช้า คุณภาพการให้บริการ (Quality of Services) ของผู้ประกอบการในตลาดอาจลดลง อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด (Barriers to Entry) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ ผู้รวมธุรกิจอาจลงทุนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้เกิดบริการทั่วถึง เนื่องจากเมื่อผู้ให้บริการขาดแรงจูงใจในการแข่งขันแล้ว จึงทำให้ไม่เข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ หรือลงทุนในพื้นที่เหล่านั้นน้อยลง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ย่อมทำให้ “ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม” เพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide) ผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และต่อ GDP ที่ทำให้ GDP มีแนวโน้มลดลง และอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการรวมธุรกิจ
5. ดังนั้น การรวมธุรกิจระหว่างทรู และดีแทค เป็นการดำเนินการที่มีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสาธารณชน และสังคมโดยรวม
ทั้งนี้ ประโยชน์จากการรวมธุรกิจยังขาดความชัดเจน ว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากการรวมธุรกิจในครั้งนี้ ซึ่งในกระบวนการของการพิจารณาก็ได้พยายามประเมินผลดีของการรวมธุรกิจผ่านวิธีการต่าง ๆ แต่ผลยังไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัดที่มาบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดต่อสาธารณชน เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศได้
6. จากการศึกษาและประสบการณ์ในอดีตของประเทศต่าง ๆ ที่เกิดการรวมธุรกิจและเหลือผู้ประกอบการ 2 รายในตลาด พบว่าเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ (Remedies) ไม่สามารถป้องกันหรือลดทอนผลกระทบอันเกิดจากระดับการผูกขาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้
ดังนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น และเพื่อไม่ให้ประเทศต้องเผชิญกับความเสี่ยงดังกล่าว ผมจึงไม่เห็นด้วยในการพิจารณาอนุญาตการรวมธุรกิจ ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ที่มา: ประชาไท
คนที่สาม ต่อพงษ์ เสลานนท์ กสทช. ที่มาในนามตัวแทนด้านคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ในความเห็นส่วนตัวกรณีการควบรวมไว้ดังนี้
“…จากกรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) ข้าพเจ้ามีความเห็นข้อกฎหมาย ดังนี้
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 มาตรา 4 มิให้ใช้บังคับแก่การกระทํา ของ (4) ธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะกํากับดูแลในเรื่องการแข่งขันทางการค้า ดังนั้น เมื่อ กสทช. มีประกาศ เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะตาม (4) แล้ว กรณีการรวมธุรกิจ ระหว่างสองบริษัทดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้อํานาจหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
การรวมธุรกิจ ตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง ที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มี อํานาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตรวมกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือผู้มีอํานาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตราย อื่น แล้วเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การเข้าถือครองธุรกิจ ตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ข้อ 8 เพื่อจะเข้าควบคุมนโยบายหรือ การบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น โดยการเข้าซื้อหรือถือหุ้นของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือเพื่อเข้าซื้อ สินทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น เห็นว่ากรณีนี้ ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 2 รายยังคงดําเนิน ธุรกิจต่อไปเหมือนเดิม
พฤติการณ์ดังกล่าวมีผลทําให้ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 2 ราย อาจจะบริหารธุรกิจโดยคนกลุ่มเดียวกัน จึงทําให้สามารถรวมหัวหรือสมรู้ร่วมคิดกันกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งในการดําเนินธุรกิจ อันอาจ ส่งผลให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจํากัดการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคม จึงจะต้องได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการก่อน
ส่วนการรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง มีความแตกต่างกับการถือ ครองธุรกิจรายอื่น คือ ไม่ได้จะเข้าควบคุมนโยบาย หรือการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นแต่อย่างใด
วิธีการถือครองธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ข้อ 8 โอกาสจะมีผลกระทบต่อตลาด โทรคมนาคมรุนแรงเสียหายมากกว่าการรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง เพราะมี ความประสงค์ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่า กระทําเพื่อจะเข้าควบคุมนโยบาย หรือการบริหารธุรกิจของผู้รับใบอนุญาต รายอื่น
การรวมธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2561 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง จึงสามารถป้องกันผลกระทบ ความเสียหายล่วงหน้าได้ ตามข้อ 12 ในประกาศดังกล่าว
ส่วนการถือครองธุรกิจตามประกาศฉบับ พ.ศ.2549 ไม่สามารถกําหนดเงื่อนไขหรือมาตรการ เฉพาะล่วงหน้าได้
มาตรการเฉพาะตาม หมวด 4 จะนํามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีผลกระทบเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว เป็นมาตรการเฉพาะสําหรับใช้ลงโทษกรณีก่อให้เกิดผลกระทบมีความเสียหาย
เมื่อไม่เข้าข่ายข้อ 8 ตามประกาศ กทช. ฉบับ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการ กสทช. จึงไม่มีอํานาจที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการรวมธุรกิจ แต่คงมีอํานาจที่จะกําหนดเงื่อนไขหรือนํามาตรการ เฉพาะสําหรับผู้มีอํานาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสําคัญ ตามข้อ 12 ประกาศ กสทช. ฉบับ พ.ศ. 2561 ที่ออก มาตรการตามความมาตรา 27 (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553
ส่วนคนสุดท้ายที่เป็น ประธานกสทช. ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ (วันนี้ 27 Oct) ยังไม่มีการเปิดเผยความเห็นส่วนตัวออกมานะครับ แต่ก็ไม่ต้องคาดหวังกันหรอกครับ เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีประวัติการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่เคยมีประวัติการทำงานในธุรกิจสื่อสารหรือโทรคมนาคมมาก่อน แต่ผ่านกระบวนการสรรหา สว.ลงมติเป็นกรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค … ก็เท่านั้นเอง
สุดท้าย หลังจาก “มติอัปยศ” ออกมา อ.สมเกียรติ โพสใน facebook ไว้ที่ << โดยมีคำแนะนำว่า…
ประชาชนโดยเฉพาะองค์กรผู้บริโภคควรดำเนินการดังต่อนี้ 1. ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลยกเลิกมติของ กสทช. ที่ปล่อยให้มีการควบรวมกิจการ และขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอย่าให้มีการควบรวมก่อนมีคำตัดสิน 2. ดำเนินการเพื่อฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการที่ กสทช. อนุญาตให้ควบรวมแล้วมีผลทำให้บริการโทรคมนาคมซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน จะมีค่าบริการที่สูงขึ้นในอนาคตและเป็นภาระต่อประชาชนตามที่มีผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ไว้ ซึ่งจะทำให้การกระทำของ กสทช. ขัดต่อมาตรา 56 ของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ในปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญก็กำลังพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจการไฟฟ้าโดยอ้างมาตราเดียวกันอยู่ 3. ร่วมมือกับองค์กรด้านต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นร้องเรียนให้ ปปช. ตรวจสอบการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. 4. เรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติโดยเฉพาะ สส. ตรวจสอบ กสทช. อย่างเข้มข้น และพิจารณาแก้ไขกฎหมาย กสทช. ครั้งใหญ่เพื่อปฏิรูป กสทช. และสำนักงาน กสทช. ให้มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อประชาชน 5. รณรงค์ให้ประชาชนและผู้บริโภคแสดงออก โดยงดซื้อสินค้าและบริการจากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทุนผูกขาด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ อาหารและอาหารสัตว์ อินเทอร์เน็ต ระบบการชำระเงินและกิจการอื่นๆ
by kokoyadi | Apr 27, 2022 | Blog , Works
เสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา กสศ. ชวนผมไปร่วมพิจารณาทุน “ก้าวเพื่อน้อง” ของพี่ตูน ซึ่งก็เป็นปีที่สองที่ได้รับคำชวนให้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน และพอเป็นปีที่ 2 เลยจับความรู้สึกและความต่างที่พอสังเกตอะไรบางอย่างได้ เลยอยากแชร์ให้ฟังกัน
“ทุนก้าวเพื่อน้อง” จะให้กับนักเรียนที่กำลังจะจบ ม. 3 เพื่อให้ได้เรียนต่อ ม.ปลาย/วิชาชีพ แบบที่มีค่าใช้จ่ายรายเดือนให้พร้อมกับค่าเล่าเรียนตลอด 3 ปี เป็นเงิน 264,000 บาท ในขณะที่ทุนอื่นอาจได้เป็นรายปีหรือเป็นรายครั้ง และอันที่จริง ทุนระดับ ม.ปลาย/วิชาชีพในบ้านเรามีจำกัดมากกว่าระดับอื่นๆ เพราะอยู่นอกเหลือการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ในมุมของรัฐจึงคิดว่า การศึกษาในระดับในนี้เป็นการลงทุน อยากเรียนต่อต้องกู้เอาจาก กยศ.
ปีนี้ที่ต่างจากปีที่แล้วแบบชัดมากๆ คือ ปีนี้ จำนวนทุนที่พร้อมให้นักเรียนเพียง 40 คนเท่านั้น เทียบกับปีที่แล้วที่ระดุมทุนได้กว่า 27 ล้านบาท และมอบทุนให้นักเรียนได้ถึง 109 คน เห็นได้ชัดว่าปีนี้โครงการนี้ได้เงินบริจาคและทำกิจกรรมขายของน้อยกว่าปีที่แล้วอย่างมาก แอบเดาว่าคงเป็นกระทบจากโควิดที่ลากยาวด้วยส่วนหนึ่ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลจากกระแสการวิพากษ์วิจารณ์โครงการ “ก้าวคนละก้าว” ที่ทำให้กิจกรรมต่างๆ ทำไม่ได้ตามเป้า และอาจมีอุปสรรคในแง่ของการสื่อสารโครงการรวมอยู่ด้วย
พอเห็นข้อมูลแบบนี้ ก็มีคำถามคาใจอยู่บ้างเช่นกัน แม้ว่าโดยส่วนตัวจะไม่ค่อยเชื่อเรื่องการทำบุญเท่าไหร่ (เคยเขียนถึงเรื่องทำบุญว่า มันสร้างปัญหายังไงไว้ 2 ปีที่แล้ว https://www.kokoyadi.com/philanthropy/ ) แต่เหตุการณ์นี้ ผมรู้สึกว่าเป็นโจทย์ยากพิลึกเลยนะครับ ว่า ถ้าคำวิจารณ์ทำให้คนทำบุญน้อยลง เพราะคาดหวังให้มีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าการทำบุญที่คิดว่าเป็นแค่เรื่อง “ฉาบฉวย” พร้อมไปกับการคาดหวังให้พี่ตูนเรียกร้องนโยบายการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึงจากรัฐ หรือ ความสมเหตุสมผลของการใช้งบประมาณ แบบเลิกซื้อเรือดำน้ำ 2 ลำก็เลี้ยงเด็กยากจนได้ทั่วประเทศแล้ว
แต่การจะแก้ไขปัญหาเชิงระบบแบบนี้ ที่มีทั้งเรื่องกฎระเบียบ ขั้นตอน รวมถึงความเป็นไปได้ทางการเมืองต่างๆ จึงย่อมจะแก้โจทย์ไม่ได้ภายในชั่วข้ามคืน ทำให้รู้สึกว่าการบริจาคในกรณีนี้ ยังรู้สึกว่าจำเป็นในการจัดการปัญหาที่เฉพาะหน้ามากๆ
เพราะว่าการให้ความช่วยเหลือปัญหาการเข้าถึงการศึกษาแบบที่ช่วยแบบที่ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายด้วย เป็นหลักประกันที่สำคัญสำหรับน้องๆ ที่คาดว่าคงไม่ได้เรียนต่อแน่ๆ จากลักษณะร่วมที่น้องๆ รุ่นม. 3 ที่อายุประมาณ 14-15 หลายร้อยคนในประเทศนี้เจอ คือ เรียนดี (ซึ่งสำหรับผม 3 ขึ้นไปนับว่าเรียนได้แล้วนะครับ) ทำกิจกรรมบ้าง แต่สภาพครอบครัวรายได้น้อย มีพ่อแม่อายุในช่วง 35-45 บ้าง พ่อแม่หย่าร้างบ้าง อยู่กับยายบ้าง หรือกรณีที่รุนแรงมากคือพวก domestic violence ในรูปแบบต่างๆ
ดังนั้น การให้ทุนสำหรับน้องๆ กลุ่มนี้ จึงเป็น “การตัดตอนปัญหาความยากจนข้ามชั่วคน” ที่สำคัญมากๆ ที่เว้นการช่วยเหลือไปหรือช่วยคนได้น้อยลง ก็จะมีน้องๆ ที่โตในตลาดแรงงานราคาไม่สูง และจะแก้ปัญหาความยากจนสำหรับเขาก็ย่อมยิ่งจะยากขึ้นไป และอาจจะต้องไปแก้ในอีกรุ่นของลูกของพวกเขาก็ตาม
นอกจากนี้ ในกระบวนการคัดเลือกโครงการนี้ มีคำถามที่ทำให้เรารู้จักเด็กแบบที่น่าสนใจดี คือ นักเรียนจะต้องเขียนตอบคำถามว่า
“ถ้าหากขอพรวิเศษได้ 3 ข้อ ผู้ขอรับทุนจะขออะไร เพราะอะไร จึงขอสิ่งนั้น”
ความรู้สึกแรกเพราะอ่านงานของเด็กๆ ไปสักพัก แล้วรู้สึกว่าพรวิเศษของเด็กๆ ปีนี้ต่างจากรุ่นที่ผ่านมา คือ เด็กๆ รุ่นที่แล้วจะมีพร ที่อยากได้ ไปไกลกว่าแค่ ครอบครัวหรือตัวเอง คือ ขอให้ชุมชนที่เค้าอยู่ดีขึ้น มีหลายเรื่องที่เป็นประเด็นทางสังคม ที่อ่านแล้วรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องรอบตัวของชุมชน/หมู่บ้านของเขา เช่น ความเจริญ ปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเผาป่า การจัดการขยะ การทำมาหากินของผู้ใหญ่ ฯลฯ หรือแม้การจินตนาการพรของเขาที่เชื่อมโยงถึงอาชีพในอนาคตของเขาได้
แต่กับเด็กรุ่นนี้ เท่าที่ผมอ่าน ส่วนใหญ่เค้าจินตนาการถึงเรื่องเหล่านั้นไม่ค่อยออก และต้องไม่ลืมว่าเด็กรุ่นนี้ คือ นักเรียนที่เผชิญกับสถานการณ์โควิด 2 ปี และเป็น 2 ปีที่ต้องเรียนออนไลน์ และได้โอกาสเรียนรู้น้อยกว่าภาวะปกติ และในฐานะที่เคยเป็นครูมาก่อน เรารู้สึกว่าความสามารถทางภาษาต่างไปอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่เป็นประโยคความเดียว เป็นภาษาที่ไม่มีความซับซ้อน ไม่มีประโยคที่ร้อยเรียงคำและความหมายแบบเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อเทียบปีที่แล้ว และเรื่องราวที่เล่ามาก็ไม่ได้ไกลกว่าเรื่องตัวเองและครอบครัว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่จะตำหนิอะไรกัน แต่อยากสะท้อนว่าภาวะโควิดทำร้ายการเรียนรู้และโอกาสในการใช้ชีวิตของเด็กที่จะเรียนรู้และอยู่กับสังคมที่มีเรื่องราวมากมาย
เล่ามาซะยึดยาวเนี่ย เพราะนอนไม่หลับและคิดว่าทำไมเรื่องนี้โจทย์มันซับซ้อนจัง และก็อยากจะบอกว่า เรายังเชียร์ให้มีโครงการ ”ก้าวเพื่อน้อง” นี้ต่อไป และถ้าจะคาดหวังให้โครงการนี้เลิกไป จริงๆ ก็เพราะเหตุผลว่าสังคมไทยพร้อมจะโอบอุ้มผู้คนผ่านนโยบายที่ inclusive และ effective มากกว่าการที่จะเลิกโครงการคำวิพากษ์วิจารณ์ครับ
by kokoyadi | Apr 24, 2022 | Blog , Works
ชวนอ่านงาน “ตรวจการบ้านผู้ว่าฯ คนเดิม เติมผู้ว่าฯ คนใหม่” กันครับ
https://tdri.or.th/…/bangkok-governor-monitoring…/
ซึ่งงานนี้ พวกเราทีม TDRI และ UddC คุยเตรียมตัวกันตั้งแต่ต้นปีตอนที่ยังไม่ประกาศเลือกตั้งด้วยซ้ำนะครับ นักวิจัยกว่า 30 คน Zoom ประชุมกันหลายรอบถึงกรอบ ประเด็น โจทย์ และวิธีการเล่าเรื่องให้กระชับและตรงประเด็น
ประเด็นตกผลึกชัดตั้งแต่ต้นเมษายน และล๊อกคิวคนเกี่ยวข้องต่างๆ พร้อมแจ้งผู้สมัครที่มีชื่อในสื่อทุกท่านแล้วว่าพวกเราจะเสนองานวิจัยฉบับนี้ในประเด็นทั้ง 9 ที่ทีมวิจัยทำงานเกี่ยวข้องมา และชวนให้มาร่วมงาน
ก่อนงานเราคาดว่า จะมีผู้สมัครมาร่วมงานทั้งหมด 6 คน เพราะส่วนใหญ่ทุกท่านตอบรับอย่างดี แต่หลังจากมีเราส่งรายงานฉบับ 32 หน้าส่งให้ผู้สมัคร ก็มีผู้สมัครบางท่านอยากส่ง “ทีมนโยบาย” มาแทน และบางท่านถอนตัวด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ซึ่งในนามผู้จัดต้องขอสงวนเวทีให้กับผู้สมัครเท่านั้น ที่ต้องเล่าเพราะมีบางคน ร่วมถึงคนรู้จักก็คอมเมนต์ว่า ทำไมเราเชิญแค่สายที่เรียกว่า “ฝั่งประชาธิปไตย” เท่านั้น ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจให้ออกมาแบบนี้นะครับ
แม้กิจกรรมนี้ จะมีแค่ “ผู้สมัคร 3 ท่านนี้เท่านั้น” ที่พร้อมมาตอบโจทย์เชิงนโยบายกับทีมวิจัยของพวกเรา แต่ทุกท่านกล้าหาญพอที่จะตอบคำถามยากๆ จากทั้งคุณจอมขวัญและอ.สมเกียรติ ผมจึงอยากชวนลองดูเวทีนำเสนอและบททดสอบการตอบโจทย์ของผู้สมัครทั้ง 3 เมื่อวานนี้
https://youtube.com/watch?v=QkT0znOOHz8%3Fstart%3D1
https://www.youtube.com/watch?v=QkT0znOOHz8
และแน่นอน อยากชวนให้ทุกท่านลองเลือกจากลิสต์นี้ นี่แหละ ผมว่าเป็น ผู้ว่าฯ ที่พร้อมเป็นของคน กทม. และเราจะใช้เขาและสนับสนุนเขาให้เป็นผู้ว่าที่คน กทม. จริงๆ และจะจุดประกายให้ทุกจังหวัดจะต้องมี ผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจะเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่ และกล้าพูดแทนคนในพื้นที่ มากกว่าคนที่ส่วนกลางส่งไปทำหน้าที่… ขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานนี้ครับ… ขอบคุณจริงๆ
by kokoyadi | Jul 26, 2021 | Blog , Works
วิกฤตการณ์การระบาดของโควิด-19 สร้างความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ สาธารณสุข และสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นในระบบราชการและการบริหารจัดการของรัฐบาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
การบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม คือ กุญแจสำคัญในการผ่านวิกฤตในครั้งนี้ “การเปิดเผยข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19 ตามหลัก Open data” จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วย สื่อสารว่ารัฐบาลมีความตั้งใจที่จะบริหารจัดการวัคซีนอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้สังคมได้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูล เข้าใจในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐ และนำไปสู่บรรยากาศของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และภาคสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ ให้ความมั่นใจกับประชาชน และลดปัญหาความสับสนจากปัญหาข่าวลือและข่าวปลอม
เครือข่ายนักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชน ดังมีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 41 (1) ประกอบมาตรา 59 และ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งรับรองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่อยู่ในครอบครองของรัฐและกำหนดเป็นหน้าที่ให้รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่ประชาชน โดยเสนอให้รัฐบาล ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผย “ข้อมูลบริหารจัดการและกระจายวัคซีนโควิด-19” ดังรายการต่อไปนี้
1. เปิดเผยกระบวนการเสนอ อนุมัติ และลงนามในสัญญาจัดซื้อวัคซีน ที่ผ่านมาและในอนาคต รวมถึงเงื่อนไขสำคัญๆ ในสัญญาจองซื้อและจัดซื้อวัคซีนทุกยี่ห้อ อาทิ จำนวนโดส อายุสัญญา กำหนดการส่งมอบ บทลงโทษกรณีส่งมอบล่าช้า การยกเว้นความรับผิดให้กับผู้ผลิต เป็นต้น
2. เปิดเผยแผนการจัดหาวัคซีน ทุกชนิดต่อสาธารณะ รวมทั้งแผนการทดแทนวัคซีนที่ขาดแคลนในปัจจุบันและการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอและทั่วถึงในอนาคต
3. เปิดเผยหลักเกณฑ์การจัดสรรวัคซีน สำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่มีรายละเอียดการจัดลำดับความสำคัญ และจำนวนกลุ่มเป้าหมายของการจัดสรร
4. เปิดเผยแผนการฉีดวัคซีน และการบริหารจัดการวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายที่วางหลักเกณฑ์ไว้
5. เปิดเผยความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน อย่างสม่ำเสมอเป็นรายวัน โดยมีรายละเอียด ชนิดวัคซีน บุคคลกลุ่มต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ พร้อมข้อมูลลักษณะประชากร ข้อมูลเชิงพื้นที่ (รายจังหวัด) และข้อมูลเชิงหน่วยงานที่ดำเนินการ
โดยข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้เป็นไปตามมาตรฐาน Open Data Standard ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่ให้สื่อมวลชนและประชาชนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ง่าย มีความละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ (Machine-Readble Format) เช่น ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ XLS หรือ CSV
ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม ขึ้นเกิดได้จริง ให้ประชาชนมีความหวัง และสร้างบรรยากาศที่พร้อมให้ร่วมมือกับรัฐบาลในการผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ได้
เสนอแถลงการณ์ ครั้งแรก 26 กรกฎาคม 2564
ร่วมลงชื่อเพิ่มเติมกันได้ที่ http://www.change.org/vaccine_th_open_data_Standard
รายชื่อกลุ่มแรก 333 รายชื่อ
1 กชกร ธรรมชาติ The MATTER 2 กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3 กมล สุกิน สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreenNews 4 กรชนก ชิดไชยสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 5 กรธนัท ศุภภะ ประชาชน 6 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน 7 กรัณย์พล จอมปรัชญา ประชาชน 8 กรุณพร เชษฐพยัคฆ์ The MATTER 9 กฤตนัย จงไกรจักร The MOMENTUM 10 กฤษณะ โชติสุทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 11 กฤษนะ ละไล ประชาชน 12 กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 13 กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14 กัญญาณัฐ ปริ่มผล a day 15 กัลยาวีร์ แววคล้ายหงษ์ Backpack Journalist 16 กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 17 กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 18 การดา ร่วมพุ่ม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์ 19 กำพล จำปาพันธ์ นักวิชาการอิสระ 20 กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 21 กิตติธัช ศรีพิชิต The People 22 กิตตินันท์ วัฒนธิติกุล The MOMENTUM 23 กิตยางกูร ผดุงกาญจน์ The People 24 กุลนารี เสือโรจน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 25 เกศศิรินทร์ มัธยทรัพย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ม.มหิดล 26 เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 27 ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ เพจมนุษย์กรุงเทพฯ 28 คณิตตา จิตเจริญ Salmon House 29 คาลิล พิศสุวรรณ a day 30 คีรีบูน วงษ์ชื่น WAY magazine 31 งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 32 จนิสตา เลิศสนองบุญ Salmon House 33 จรัสรวี ไชยธรรม สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม GreenNews 34 จักรสิน น้อยไร่ภูมิ นักวิชาการอิสระ 35 จันทนา เชื้อผู้ดี โรงพยาบาลกงไกรลาศ สุโขทัย 36 จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 37 จามร เพชรนรินทร์ Shot Doc 38 จารุวรรณ รัตนโสภา สภาองค์กรของผู้บริโภค 39 จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ a day 40 จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 41 จิรัชญา ชัยชุมขุน The MATTER 42 จิรัฏฐ์ ชนะชัย Salmonbooks 43 จิราภรณ์ ศรีแจ่ม ThaiPBS 44 จิราภรณ์ อรุณากูร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี 45 จุฑามาศ ตั้งสันติกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46 จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา ประชาไท 47 จุฬภัทร ผการัตน์ Salmon Podcast 48 จุฬารัตน์ แสงปัสสา ประชาชน 49 เจริญลักษณ์ เพ็ชรประดีบ สื่อออนไลน์ท้องถิ่นอีสานบิซ 50 ฉัตรชนก ชัยวงค์ a day 51 ฉัตรชัย พึ่งดอน ประชาชน 52 ฉัตรฤดี ศิริลำดวน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 53 ฉายสิริ พัฒนถาวร มหาวิทยาลัยศิลปากร 54 เฉลิมพล ปทะวานิช Sound Dimension Magazine 55 ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 56 ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 57 ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 58 ชนิดา รอดหยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 59 ชนินทร์ ชมะโชติ บริษัท ดอคคิวเมเนีย จำกัด 60 ชวิศ หินเงิน Livingsoft Co., Ltd. 61 ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี กรุงเทพธุรกิจ 62 ชัยธวัช สีผ่องใส คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 63 ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร 64 ชาคริต นิลศาสตร์ a day 65 ชิบ จิตนิยม NationTV 66 ญาณิน พงศ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยศิลปากร 67 ญาธินี ตันติวิวัฒน์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 68 ฐปณีย์ เอียดศรีไชย The Reporters 69 ฐานิดา บุญวรรโณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 70 ฐิตาภา สิริพิพัฒน์ The Nation 71 ฐิติชญา อนันต์ศิริภัณฑ์ The MOMENTUM 72 ฐิตินบ โกมลนิมิ The Active 73 ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 74 ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล นิตยสารสารคดี 75 ฐิติยา พจนาพิทักษ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 76 ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 77 ฐิรวัฒน์ แทบทับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 78 ณขวัญ ศรีอรุโณทัย WAY magazine 79 ณภัทร จักษุดุลย์ ประชาชน 80 ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ThailandFuture 81 ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี มหาวิทยาลัยนครพนม 82 ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล The101.world 83 ณรรธราวุธ เมืองสุข สมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตย 84 ณัชพล เนตรมหากุล The MOMENTUM 85 ณัฐกร เวียงอินทร์ The People 86 ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 87 ณัฐนนท์ จันทร์ขวาง Main Stand 88 ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน Spaceth 89 ณัฐพร เถาตะกู The Opener 90 ณัฐวุฒิ คล้ายขำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 91 ณิชกานติ์ แววคล้ายหงษ์ PPTVHD36 92 ดนิตา ปุลพรวาริน ประชาชน 93 ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 94 ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 95 ดำรงค์ฤทธิ์ สถิตดำรงธรรม The People 96 เดโชพล เหมนาไลย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 97 ตติกานต์ เดชชพงศ The Opener 98 ถมทอง ทองนอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 เถกิง พัฒโนภาษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ทศพล เพิ่มพูล a day 101 ทัพพ์เทพ ภาปราชญ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 102 ทัพพนัย บุญบัณฑิต บีบีซีไทย 103 ทัศนียา รัตน์วงศ์ NationTV 104 ทินารมภ์ ฟิทซ์แพทริค ประชาชน 105 เทวฤทธิ์ มณีฉาย ประชาไท 106 ไท แสงเทียน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 107 ธนกร วงษ์ปัญญา THE STANDARD 108 ธนชัย เกษรพิกุล ThaiPBS 109 ธนชาติ ศิริภัทราชัย Salmon House 110 ธนดิษ ศรียานงค์ The MOMENTUM 111 ธนพล แก้วแดง Salmon House 112 ธนะ วงษ์มณี Len.game 113 ธนันต์พร ณ น่าน ประชาชน 114 ธนาวิ โชติประดิษฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร 115 ธนิสรา เรืองเดช Punch Up / ELECT 116 ธมนวรรณ กัวหา The MOMENTUM 117 ธรรญฐ์ฌนก ศรีธเนศชัย ประชาชน 118 ธวัช มณีผ่อง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 119 ธัญญารัตน์ โคตรวันทา The People 120 ธีรภาส ว่องไพศาลกิจ Salmon House 121 ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 122 ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 123 ธีรัตถ์ รัตนเสวี VoiceTV 124 นงนภัส พัฒน์แช่ม PPTVHD36 125 นงนาถ กมลาศน์ ณ อยุธยา สื่อมวลชนอิสระ 126 นทธัญ แสงไชย Salmon Podcast 127 นลิน ธีรประทีป ประชาชน 128 นวลสวาท โชติชัยสถิตย์ ข้าราชการบำนาญ 129 นันทนา อติโพธิ ประชาชน 130 นาตยา อยู่คง มหาวิทยาลัยศิลปากร 131 นารากร ติยายน NationTV 132 น้ำปาย ไชยฤทธิ์ a day 133 นิธิดา แสงสิงแก้ว คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 134 นิธิศ ฉินประสิทธิชัย The MATTER 135 นิลุบล ไพเราะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 136 นูรีซะห์ สือรี ประชาชน 137 บรรจง ชีวมงคลกานต์ สถานีโทรทัศน์ ช่องเวิร์คพอยท์ 138 บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 139 บัณฑิต ศิริรักษ์โสภณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 140 บุญธรรม ขุนสากล อิสระ 141 บุญวรา สุมะโน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 142 บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร 143 บุษกร คำโฮม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 144 ปฏิกาล ภาคกาย Salmonbooks 145 ปฏิมากรณ์ พูลแก้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 146 ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 147 ปณีต จิตต์นุกุลศิริ ครู 148 ปพัชญา นิภานันท์ PPTVHD36 149 ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 150 ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 151 ประภัสสร อุประสินธุ์ Salmon House 152 ประวิตร โรจนพฤกษ์ ข่าวสดอิงลิช 153 ปรารถนา พรมพิทักษ์ PPTVHD36 154 ปริตตา หวังเกียรติ นักข่าว/คอลัมนิสต์อิสระ 155 ปรีดา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 156 ปวิช ไชยรุตม์ ประชาชน 157 ปวีณ์กานต์ อินสว่าง a day 158 ปวีณา รุ่งเครือ สื่อและนักวิชาการอิสระ 159 ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย The101.world 160 ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 161 ปิยภูมิ กลมเกลียว นักวิชาการอิสระ 162 ปิยะพร งามดวงกมล Mission to the moon 163 ปิยะวุฒิ กมลพัฒน์วรกุล Salmon lab 164 เปาว์ ไวโรจน์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ 165 เปี่ยมสุข สนิท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 166 ผดุงศักดิ์ เหล่ากิจไพศาล ประชาชน 167 เผ่า นวกุล นักวิชาการอิสระ 168 พงศ์ธร ยิ้มแย้ม The MOMENTUM 169 พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ The MATTER 170 พงศ์สันต์ กิจกีรติกุศล เอกชน 171 พงษ์ธร วราศัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 172 พงษภัทร หงส์สุขสวัสดิ์ สภาองค์กรของผู้บริโภค 173 พนา ทองมีอาคม นักวิชาการนิเทศศาสตร์ 174 พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 175 พรพรรณ เชยจิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร 176 พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 177 พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 178 พริสม์ จิตเป็นธม workpointTODAY 179 พลพงศ์ จันทร์อัมพร โกล ประเทศไทย 180 พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 181 พลอย ธรรมาภิรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 182 พลอยธิดา เกตุแก้ว ThaiPBS 183 พลอยรุ้ง สิบพลาง The MATTER 184 พลอยศรี โปราณานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 185 พลัง ศรีสรินทร์ ดอท ดีไซน์ 186 พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 187 พัชรลดา จุลเพชร สภาองค์กรของผู้บริโภค 188 พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 189 พิจาริน เลิศสาโรจน์ ประชาชน 190 พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 191 พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 192 พิชัยวัฒน์ แสงประพาฬ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 193 พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ VoiceTV 194 พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ AomMONEY 195 พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 196 พิภู พุ่มแก้วกล้า อิสระ 197 พิมลพรรณ ไชยนันท์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 198 พิม สุทธิคำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 199 พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 200 พิษณุ คนองชัยยศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 201 พีชญาดา ไชยอิ่นคำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 202 พีรพัฒน์ ขุนสวัสดิ์ อิสระ 203 พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 204 พุทธพร แสงเทียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 205 เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 206 เพ็ญนภา บุปผาเจริญสุข The MOMENTUM 207 ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 208 ภัทรภร ภู่ทอง ประชาชน 209 ภานุมาศ สงวนวงษ์ Thai News Pix 210 ภาษิต อิสระ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 211 ภูริพันธุ์ รุจิขจร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 212 มงคล ศรีธนาวิโรจน์ a day 213 มนต์ศักดิ์ ชัยวีระเดช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 214 มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 215 มัทนา เจริญวงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 216 มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 217 มานะ นิมิตรมงคล องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ 218 ยชญ์ บรรพพงศ์ Salmon House 219 ยุทธชัย สว่างสมุทรชัย Salmon Podcast 220 รชพร ชูช่วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 221 รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ 222 วรรณพร เรียนแจ้ง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 223 วรรณภา ติระสังขะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 224 วรวัฒน์ ฉิมคล้าย THE STANDARD 225 วริทธิ์ โชคทวีศักดิ์ Salmon lab 226 วเรศ จันทร์เจริญ บริษัท สเปซ แซ่บ จำกัด 227 วโรดม เตชศรีสุธี The People 228 วัชรพล สายสงเคราะห์ The MATTER 229 วัชระ จิรฐิติกาลกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร 230 วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียน 231 วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร มหาวิทยาลัยศิลปากร 232 วันอาสาฬห์ พิทักษ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 233 ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 234 วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 235 วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อิสระ 236 วิชดา นฤซรพัฒน์ ศูนย์สื่อสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย 237 วิภาช ภูริชานนท์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 238 วิภาพร วัฒนวิทย์ Backpack Journalist 239 วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 240 วิโรจน์ สุขพิศาล The101.world 241 วิไลวรรณ จงวิไลเกษม คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 242 วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 243 วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 244 วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 245 ศนิ ลิ้มทองสกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 246 ศรันย์ สมันตรัฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 247 ศรายุธ ตั้งประเสริฐ ประชาไท 248 ศศิวิมล ช่วงยรรยง อิสระ 249 ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 250 ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 251 ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 252 ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม 253 ศิริวรรณ สิทธิกา นักเขียนบทความและบรรณาธิการอิสระ 254 ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 255 ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 256 ศุภชัย อารีรุ่งเรือง คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 257 ศุภโชค อ่วมกลัด Main Stand 258 สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ หมอความ (มหาชน) 259 สนอง อูบคำ ข้าราชการบำนาญ 260 สนานจิตต์ บางสพาน นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 261 สมจิต รุ่งจำรัสรัศมี สื่อมวลชนอิสระ 262 สมชาย แย้มชัยสาร ประชาชน 263 สมศักดิ์ เนตรทอง PPTVHD36 264 สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลาครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 265 สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ 266 สรกล อดุลยานนท์ สื่อมวลชนอิสระ 267 สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ นักวิชาการอิสระ 268 สรพจน์ เสวนคุณากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 269 สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 270 สรารัตน์ รัตนสุวรรณ NationTV 271 สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต 272 สันติรักษ์ ประเสริฐสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 273 สาริศา เลิศวัฒนากิจกุล a day 274 สาริสา สิงห์ยะบุศย์ สสจ. ยโสธร 275 สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 276 สุกัญญา สมไพบูลย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 277 สุชัย เจริญมุขยนันท 77 ข่าวเด็ดอุบลราชธานี 278 สุชาดา จักรพิสุทธิ์ สื่อมวลชนอิสระ 279 สุชิตตา เก่งธัญญการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 280 สุดถนอม รอดสว่าง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 281 สุดารัตน์ พรมสีใหม่ a day 282 สุปัน รักเชื้อ สื่อมวลชนอิสระ 283 สุภกร บัวสาย นักวิชาการอิสระ 284 สุภชาติ เล็บนาค The MOMENTUM 285 สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 286 สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร 287 สุริยัน ปัญญาไว สื่อมวลชนอิสระ 288 เสนาะ เจริญพร ม.อุบลราชธานี 289 โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 290 องค์การ สารศิริวงศ์ ประชาชน 291 อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) 292 อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ NationTV 293 อดิศักดิ์ สายประเสริฐ ประชาชน 294 อติ บุญเสริม PPTVHD36 295 อธิคม ภูเก้าล้วน สื่อมวลชนอิสระ 296 อธิพัชร์ วิจิตสถิตรัตน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 297 อนุรุจน์ วรรณพิณ Readery 298 อนุสรา กอสัมพันธ์ Salmon House 299 อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 300 อภิสิทธิ์ ดุจดา PPTVHD36 301 อภิสิทธิ์ เรือนมูล WAY magazine 302 อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 303 อรรณนพ ชินตะวัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 304 อรรถพล ปะมะโข คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 305 อรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 306 อรสา ศรีดาวเรือง WAY magazine 307 อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 308 อรุชิตา อุตมะโภคิน The Active 309 อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 310 อังคณา หวัง University of Florida 311 อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 312 อัศวิน ปินใจ VoiceTV 313 อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 314 อาทิตย์ชัย แซ่เบ๊ เอกชน 315 อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ทรินิตีคอลเลจดับลิน 316 อาทิตยา อาษา นักวิจัยอิสระด้านสตรี เพศสถานะ และเพศวิถี 317 อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 318 อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล workpointTODAY 319 อิสร์กุล อุณหเกตุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 320 อิสระ อนันตวราศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 321 อุดมธิปก ไพรเกษตร สำนักข่าว BeeVoice 322 อุ่นกัง แซ่ลิ้ม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 323 เอกพล เธียรถาวร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 324 เอกพล บรรลือ THE STANDARD 325 เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ประชาชน 326 เอกพิชัย สอนศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 327 เอก รักตประจิต สามัญชน 328 เอกรัฐ ตะเคียนนุช สถานีโทรทัศน์ ช่องวัน31 329 เอกสุดา สิงห์ลำพอง มหาวิทยาลัยศิลปากร 330 เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา 331 เอื้อบุญ จงสมชัย VoiceTV 332 Aree Chaisatien อิสระ 333 Parichat Chayapan มหาวิทยาลัยมหิดล
by kokoyadi | Oct 27, 2020 | Blog , Works
เมื่อวานนี้ เผอิญมีโอกาสได้เล่าเรื่อง Data Journalism ให้กับกลุ่มนักศึกษา 3 มหาวิทยาลัยที่ส่วนเป็นหนึ่งของ Data Incubator ที่อาจารย์พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพยายามผลักดันให้เกิดในวิชาของกลุ่มคณะนิเทศศาสตร์จากทั้ง จุฬาฯ มศว. และศิลปากร
ผมเลยเตรียมเรื่องสั้นๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ไปพูด 3 เรื่อง แต่มีคนอยากรู้ว่าพูดอะไรไป โดยเฉพาะส่วนที่อาจารย์พิจิตราพูดถึงใน facebook ว่า “พี่โก้จาก TDRI โชว์ให้เห็นว่า นร. ที่ถูกลงโทษถูกใน รร. เป็นผู้หญิง กับ LGBTQ ในโรงเรียนต่างจังหวัดเยอะมาก ซึ่งก็วิเคราะห์ให้เห็นถึงแรงกระเพื่อมในม็อบเด็กที่เกิดมาจากปัญหาที่สะสมจน เด็กมันมาเดินถนนทุกวันนี้”
เลยจะเอาแค่ 1 เรื่องในส่วนนี้มาเล่าให้ฟังนะครับ ซึ่งจริงๆ มันเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ทีมพวกเราทำข้อมูลไปออกรายการที่ The Standard X TDRI ตอน “เปิดเบื้องหลังม็อบนักเรียนไทย เมื่อห้องเรียนไทยวิ่งตามเด็กไม่ทัน”
Key Message ของตอนนี้ คือ เมื่อพ่อแม่ส่วนใหญ่ทั้งระดับโลกและไทยต่างเลี้ยงดูลูกเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่โรงเรียนที่เป็นพื้นที่เพาะบ่มเด็กนักเรียนกลับเปลี่ยนแปลงไม่ทัน กฎระเบียบ วิธีการเรียนการสอนในโรงเรียนยังปรับตัวตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง ยังเป็นพื้นที่อำนาจนิยมที่ครูเป็นใหญ่
พวกเราเลยอยากรู้ว่าข้อสมมุตินี้จริงหรือไม่
จึงลองตั้งคำถามง่ายๆ ด้วย Google Form ที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไร โดยตั้งคำถามไว้ 5 ข้อว่า
คุณเอง ยังถูกทำโทษทางร่างกายในโรงเรียนอยู่หรือไม่? รูปแบบ ที่โดนลงโทษ สาเหตุ ที่โดนลงโทษ คิดว่าผลการเรียนของคุณอยู่ในระดับไหน โรงเรียนของคุณอยู่ในภาคไหน
โดยให้ผู้ตอบได้ตอบคำถามระบุเพศว่า เป็นชาย หญิง หรือ LGBTQ ไว้ด้วย
ซึ่งอันนี้ ผมก็ได้เล่าให้ทุกท่านฟังว่า อันนี้เป็นโจทย์ที่เราอยากรู้และลอง Survey แบบเร็วๆ มากๆ คือ ออกอากาศตอนค่ำ แต่คิดว่าอยากจะ Survey ถามน้องๆ กันตอน 11 โมงเช้าในวันนั้น ช่วงเที่ยงทีมก็ทำ Form พร้อม Banner สำหรับโพสใน Twitter และบรรดา Network ลูกเพื่อนหลานเพื่อนที่เรียนมัธยมให้ช่วยกันแชร์ ประกอบกับในวันนั้น มีคลิปครูฝึกสอนลงโทษเด็กด้วยการให้ยกเก้าอี้ลุกนั่งในห้องวิทยาศาสตร์ซึ่งมีคนแชร์กันระดับ 112K ทำให้แบบสอบถามนี้ ถึงช่วงหัวค่ำที่เราประมวลผลเพื่อไปออกอากาศก็มีคนตอบมาประมาณอีกนิดนึงก็ 100 คนพอดี (แต่ผลที่ประมวลไปโชว์ N=125 นะครับ)
แม้จะเป็น Survey แบบเร็วๆ แต่ผลที่ออกมาก็น่าประหลาดใจเล็กๆ นะครับว่า ทั้งที่ประเทศไทยยกเลิกการลงโทษนักเรียนด้วยวิธีรุนแรงมานานแล้ว แต่ยังมีนักเรียน 62 % ที่บอกว่ายังโดนทำโทษทางร่ายกายอยู่ โดยรูปแบบการทำโทษทางร่างกายที่มากที่สุด การตีด้วยสิ่งของ เช่น ไม้เรียวและอื่นๆ แม้ว่าการลงโทษทางร่างกายจะยกเลิกไปตั้งแต่สมัยที่คุณจาตุรนต์ ฉายแสงเป็น รมต.ศึกษาธิการแล้วนะครับ
ส่วนสาเหตุที่ถูกทำโทษมากที่สุด คือ เรื่องการคุยเสียงดังในห้องเรียน และ การแต่งกายผิดระเบียบ
สำหรับผมแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดของเรื่องนี้ คือ ผมวางคำถามไว้ เรื่อง “โรงเรียนของคุณอยู่ในภาคไหน” เพราะอยากรู้ว่า Location มีผลต่ออัตราการลงโทษหรือไม่ ซึ่งด้วยจำนวนของการตอบแบบสอบถามไม่ได้มีจำนวนมากพอที่จะบอกอะไรได้
เราจึงลองเอาข้อมูลของคนตอบที่ว่าอยู่ใน กทม.และปริมณฑลออก เพื่อดูว่าต่างจังหวัดอยู่ในเรตที่ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งเห็นตัวเลขแล้ว แม้ไม่แปลกใจ แต่คิดไปคิดมายิ่งตกใจ เพราะตัวกลับเพิ่มจาก 62% เป็น 80% เลย
นั่นแปลว่า ยิ่งโรงเรียนต่างจังหวัด ยิ่งมีการลงโทษทางร่างกายอยู่มาก ยิ่งแสดงถึงอำนาจนิยมที่มีในโรงเรียนที่ยิ่งสูงมาก
และเมื่อเอาข้อมูลเรื่องเพศมาดู เลยเริ่มเข้าใจว่า ทำไมในม็อบเราจึงเห็นการเคลื่อนไหว นักเรียนหญิงมากกว่านักเรียนชายแบบสังเกตเห็นได้ชัดมาก
เพราะเมื่อดูข้อมูลรายเพศ นักเรียนชายมีเพียง 43% ที่ยังโดนลงโทษทางร่างกายอยู่ แต่เป็นนักเรียนหญิงและ LGBTQ ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 68% และ 69% ตามลำดับ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่พื้นที่ในโรงเรียนที่วางความคาดหวังในกรอบการกระทำ การแต่งกาย จริยธรรม ฯลฯ บนความคาดหวังต่างๆ ทางเพศ เช่น ผู้ชายชนเป็นเรื่องปกติ แต่ผู้หญิงต้องเรียบร้อย แต่งกายเหมาะสม (มากกว่าชาย) และ LGBTQ ก็คงมีกรอบเรื่องเพศสภาพที่ไม่ต่างกัน ทำให้โรงเรียนที่ใช้การลงโทษทางร่ายกายเป็นเครื่องมือในการควบคุมมาตรฐานที่ครูคาดหวัง
นักเรียนหญิงที่ถูกกำกับ การแต่งกาย พฤติกรรม ค่านิยมที่ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยจึงต้องแสดงออกคุณค่าอีกแบบที่สวนทางกับอำนาจที่ครอบไว้ พร้อมกันทั่วทุกหนแห่ง…
และเมื่อพอได้ทำเรื่องนี้แล้ว ทำให้ผมรู้สึกอย่างนึงมากๆ คือ เสียงและความรู้สึกปัญหาของผู้คนและเยาวชนในต่างจังหวัดหลายๆ เรื่องมันเขย่าและดังพอให้คนในประเทศได้รับรู้มากเพียงใด
และใครที่คิดว่าปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น เป็นมีคนอยู่เบื้องหลัง มีใครล้างสมองเด็กๆ อยู่นั้นล่ะก็ อาจต้องมองใหม่ว่า สังคมเทคโนโลยีข่าวสาร การเลี้ยงดูเยาวชนที่เป็น Global Citizen หล่อหลอมให้นักเรียนนักศึกษาวันนี้ เห็นโลกเร็ว เห็นโลกต่างๆ ไม่ยาก และรู้จักเลือกเปรียบเทียบแบบ Digital Native ปัดซ้าย ปัดขวา เลือกของรักคนรัก เลือกอนาคต เลือกตัวตนของตัวเองกว่าคนรุ่นก่อนหน้าแน่ๆ ครับ
การปฏิเสธอำนาจนิยมในโรงเรียนมันเลยลามถึงอำนาจนิยมในปริมณฑลอื่นๆ ได้ไม่ยากครับ
ป.ล. ใครสนใจดูวีดีโอฉบับเต็มได้ที่
VIDEO