Cal Newport เขียน พรรณี ชูจิรวงศ์ แปล WeLearn พิมพ์
Newport เป็นอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์
คีย์ที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อสมองและอุปสรรคนิสัยในการทำงานของเรา มันลดทอนความสามารถในการจดจ่อของเรา งานวิจัยของแมคคินซีย์บอกว่า “คนที่ทำงานใช้ความรู้ใช้เวลากว่า 60% ในการติดต่อสื่อสารค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและอีกเกือบ 30% ของเวลานั้นใช้ไปกับการอ่านและตอบอีเมลเพลงอย่างเดียว”
มีตัวอย่างอันหนึ่งที่สนุกดี เขาเล่าว่า Tech company แห่งหนึ่ง อ้างถึงปริมาณการส่งข้อความต่อวันของพนักงานในบริษัทว่าส่งข้อความหากันถึงวันละ 2.5 ล้านข้อความ เขารู้สึกว่านี่คือ ความสำเร็จของการทำงานร่วมกัน แต่ในอีกด้านหนึ่ง เกิดคำถามว่าข้อความจำนวนมากสะท้อนเรื่องประสิทธิภาพของการทำงานหรือว่าเป็นเพียง ”กิจกรรมของวัยรุ่นช่างจ้อ” กันแน่
ไม่ใช่แต่ วงการของบริษัทเทคโนโลยีเท่านั้นแต่ในมุมของวงการข่าว หลายบริษัทกระตุ้นให้นักข่าวผลิตเนื้อหาและปรากฏตัวบนโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ เช่นที่ เดอะนิวยอร์กไทม์ที่กระตุ้นให้นักข่าวและพนักงานของตัวเองมีบัญชีทวิตเตอร์เป็นของตัวเองและโพสต์ข้อความต่างๆ โดยคิดว่าความก้าวหน้าของโลก = ความก้าวหน้าที่ต้องบีบให้ผู้คนมีส่วนร่วม ซึ่งเขาก็ตั้งคำถามว่านักข่าวควรต้องจดจ่อกับกระบวนการเขียนข่าวการทำงานในเชิงลึก จดจ่อกับกระบวนการตรวจสอบแหล่งข่าว การเชื่อมโยงกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงลงมือเขียนข่าวที่น่าเชื่อถือ
แต่การขอให้นักข่าวมีตัวตนบนโซเชียลมีเดีย คือ การหยุดใช้ความคิดอันลึกซึ้งเพื่อไปคุยเรื่องสัพเพเหระบนช่องทางออนไลน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเขียนข่าวเลย มันอาจทำให้ พวกเขามีความน่าเชื่อถือน้อยลง และที่แย่ที่สุดมันรบกวนสมาธิของการทำงานข่าว ผลทางสังคมขนาดใหญ่คือ ข่าวที่มีคุณภาพเชิงลึกและเชื่อมโยงกับโลกที่ซับซ้อนจะยิ่งมีพื้นที่เหลือน้อยลงเรื่อยๆ หรือในที่สุดอาจหายไปก็ได้
Newport บอกว่า “การทำงานแบบดำดิ่ง” สามารถอธิบายได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพราะในสมองจะมี “ไมอีลิน” ที่เป็นชั้นเหนือเยื่อไขมันที่ห่อหุ้มเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณประสาทได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าถูกใช้และฝึกบ่อยๆ ดังนั้น คนที่เชี่ยวชาญอะไรเยอะๆ หรือมีทักษะที่เข้มข้นกว่าชาวบ้านเขา มันอธิบายได้ว่า เป็นเหตุจากการที่สมองสร้างไมอีลินมาห่อหุ้มเซลล์ประสาท ทำให้วงจรในเซลล์สมองส่งกระแสประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
เขายกตัวอย่างว่ามีคนมากมายที่ใช้ “การทำงานแบบดำดิ่ง” ที่ช่วยให้ทำงานได้อย่างดีเลิศและประสบความสำเร็จ ตั้งแต่…
- คาร์ล ยุง นักจิตแพทย์คนสำคัญช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่ทำเรื่องจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์
- มาร์ค ทเวน นักเขียนที่ผลงานชิ้นสำคัญคือ the adventures of Tom Sawyer
- วูดดี้ อัลเลน นักเขียนบทและผู้กำกับที่เข้าชิง osgar บ่อยครั้ง ซึ่งเขาทำงานโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์เลยใช้เครื่องพิมพ์ดีดโอลิมปัสและไม่ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่รบกวน
- เจเคโรว์ลิ่ง ต้องใช้การทำงานแบบดำดิ่งในการปิดจบ Harry Potter ภาคสุดท้ายโดยการหาเวลาไปเช่าโรงแรม (ใช้เวลาเข้าถ้ำ) แม้จะใช้คอมพิวเตอร์ก็ตาม
- บิล เกตส์ CEO ของ Microsoft ใช้สัปดาห์แห่งการครุ่นคิดปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เค้าจะปลีกวิเวกเพื่ออ่านหนังสือและคิดเรื่องสำคัญโดยไม่ทำอย่างอื่นเลย
- อดัม แกรนด์ นักเขียน Best seller และอาจารย์มหาวิทยาลัย พยายามจัดการกลุ่มงานที่ต้องใช้ความคิดให้สัมพันธ์กับเวลาที่เค้าทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากสิ่งรบกวน เค้าจัดสรรเวลาทั้งภาพรวมและปลีกย่อยเวลาแต่ละปี เช่น การจัดงานสอนช่วงหนึ่งและแบ่งอีกช่วงหนึ่งที่แยกออกจากงานสอนไปทำงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้งานวิจัยที่เค้าทำมีประสิทธิภาพสูงเพราะไม่มีสิ่งรบกวนต่างๆ ในระดับปลีกย่อย เขาแบ่งเวลาจัดสรรให้กับนักศึกษาอย่างชัดเจน ในช่วงเวลาที่เขาต้องการจดจ่อเค้าจะตั้งอีเมลตอบกลับอัตโนมัติว่าเค้าไม่ได้อยู่ในที่ทำงานเพื่อให้ผู้ทำงานไม่ต้องรอคำตอบแม้ว่าเค้าจะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานก็ตาม
- เจอร์รี่ ไซน์เฟลด์ นักแสดงตลก ก็บอกเคล็ดลับของการเป็นนักแสดงตลกที่เรียกเสียงฮาและความชื่นชอบของผู้คนว่าคือ การทำอย่างต่อเนื่องและมีวินัย เขาใช้ปฏิทินเป็นตัวช่วยเตือนว่า เขาทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นสายโซ่โดยบันทึกลงปฏิทินทุกวันที่เค้าเขียนมุก ทำให้เขาจดจ่อกับสายโซ่ของการทำงานที่เป็นของเครื่องหมายบนปฏิทิน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการเพาะบ่มความเคยชินที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวเองลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนนิสัย
อ่านเล่มนี้แล้ว รู้สึกเลยว่า สูตรสำคัญของการผลิตผลงานคุณภาพสูง มันคือ “เวลาที่ใช้ไป” x “ระดับของการจดจ่อ” เพราะงานที่จดจ่อในระดับสูงสุดช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่าสูงขึ้นไปในตามเวลาที่ใช้ และงานวิจัยหลายชิ้น ก็ชี้ว่านักวิจัยจำนวนมากพบว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กันส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ การตกค้างและครุ่นคิดกับเรื่องเดิมทำให้ความจดจ่ออยู่ในระดับต่ำและงานไม่รู้เรื่องไม่ลุล่วง
การทำงานแบบตอบสนองผู้คนอย่างรวดเร็ว หลายครั้งทำลายต้นทุนที่สำคัญที่สุดของการทำงานไป คือ โฟกัส ซึ่งแน่นอนแต่ละคนให้คุณค่ากับเวลาของคนอื่นย่อมไม่เท่ากัน
การเคารพคนและทีมงานในบางลักษณะ มันก็เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้แหละ ว่า คุณให้ความสำคัญกับเวลาของคนอื่นมากน้อยเพียงใด
0 Comments