เราคือ ภูมิอากาศ ภารกิจกู้โลกเริ่มต้นได้ตั้งแต่มื้อเช้า

kokoyadi
2022-07-16

Jonathan Safran Foer เขียน พลอยแสง เอกญาติ แปล Cactus Publishing พิมพ์

หนังสือเล่มนี้คนเขียนเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ได้เก่งมาก เค้าพยายามพูดถึงเรื่องการต่อสู้กับเรื่องปัญหาโลกร้อนโยงกับเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่ การฆ่าตัวตาย การต่อสู้สิทธิของกลุ่มคนผิวสี การเล่นเวฟในสนามเบสบอล ว่าทุกอย่างมันพันกับโลกร้อนยังไง

อย่างเรื่องเล่าจากเหตุการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขายกเรื่องที่ชาวอเมริกันตามเมืองชายฝั่งพยายามช่วยกันปิดไฟช่วงค่ำ เป้าหมายคือไม่ให้เรือดำน้ำเยอรมันสังเกตเห็นเรือที่จะออกจากท่าแล้วโจมตีเรือเหล่านั้น การดับไฟกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในเมืองและลามไปทั่วประเทศ แม้แต่เมืองที่อยู่ไกลจากท่าเรือก็ตาม ทำให้พลเรือนในอเมริกันมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งที่มองไม่เห็นเกิดความร่วมแรงร่วมใจจนสร้างแรงกระเพื่อมให้คนในทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนในการต่อสู้สงคราม แม้แต่บริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ ก็หันไปผลิตอุปกรณ์สำหรับกองทัพ วงการภาพยนตร์ก็มาช่วยทำหนัง สารคดี ส่งเสริมความรู้สึกรักชาติ

แม้ว่า กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อชัยชนะของสงคราม แต่ในทางกลับกันหากไม่มีกิจกรรมเหล่านี้ก็อาจทำให้ไม่สามารถชนะสงครามได้

การรณรงค์เรื่องโลกร้อนก็เช่นกัน ช่วยเล็กน้อยแม้ไม่ใช่แก่นแต่ละเลยไม่ได้.เปรียบเทียบการเล่นเวฟในสนามเบสบอล เหมือนบรรทัดฐานทางสังคมต่อให้คนเข้าร่วมจะกระตือรือร้นอยากเล่นแค่ไหนก็ต้องรอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันก่อนถึงจะเริ่มเล่นได้เรื่องหลายหลายเรื่องใช้เวลาสะสมอย่างเช่น เทศกาลแต่งกิ๊ฟวิ่งใช้เวลานานกว่าจะสำเร็จแต่สำเร็จแล้วใครจะให้หยุดคงยาก บรรทัดฐานเหล่านี้ต้องถูกทำให้มันง่ายอย่างเช่นเทศกาลแต่งกิ๊ฟวิ่งมันเป็นไปได้เพราะมีวันหยุดที่ช่วยให้การเฉลิมฉลองเป็นไปได้

หรือตัวอย่างเคสของการทำวัคซีนโปลิโอ ที่โรคโปลิโอ จริงๆ มีอีกชื่อหนึ่งคือ “อัมพาตในทารก” (Infantile paralysis) ทำให้คนเข้าใจผิดว่ามีเพียงทารกและเด็กอ่อนเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง การณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงไม่ง่าย คนทำวัคซีนอย่าง โจนาส ซอล์กที่ทำวัคซีนเชื้อตายแม้จะสำเร็จในลิงแล้ว แต่การทดสอบกับมนุษย์ไม่ง่าย ในช่วงต้น เขาจึงใช้ตัวเอง ภรรยาและลูกชายอีกสามคนในการทดลองวัคซีน แม้ไม่มีการรับประกันอะไรว่าวัคซีนปลอดภัยจริงแต่ในช่วงต้นก็มีคนเกือบ 2 ล้านคนยินดีที่จะเป็นผู้บุกเบิกวัคซีนโปลิโอ

อย่างที่บอกว่า ชื่อของโรค มันทำให้คนเข้าใจผิด อัตราการฉีดในวัยรุ่นจึงต่ำมาก ทำให้ต้องรณรงค์หลายอย่าง จนกระทั่ง เอลวิส เพรสลีย์ ที่สนับสนุนโครงการนี้ด้วยการไปถ่ายรูปตอนฉีดวัคซีนโปลิโอทำให้ภาพถ่ายนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ ทำให้คนมักยกเหตุการณ์นี้ว่ามีสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนฉีดวัคซีนอย่างมหาศาล แม้ว่าพลังของดาราจะสร้างแรงกระเพื่อมมหาศาลในแง่ของความตื่นตัวในการสร้างความในการสร้างภูมิคุ้มกันก็จริง แต่นักประวัติศาสตร์ก็บอกว่าตัวแปรสำคัญอย่างแท้จริงมาจากกลุ่มวัยเด็กวัยรุ่นเองได้ก่อตั้งกลุ่มวัยรุ่นต้านโปลิโอเข้าไปรณรงค์แบบเคาะประตูบ้าน จัดงานเต้นรำที่อนุญาตให้เฉพาะคนที่ฉีดวัคซีนแล้วเข้าร่วม นี่เลยเป็นเหตุการณ์แรกๆ ที่แสดงถึงพลังของวัยรุ่นในการทำความเข้าใจและสื่อสารกับคนรุ่นเดียวกัน

เรื่องนี้ เขาพยายามอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงในสังคมในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องโลกร้อน ต้องพยายามให้เกิดจากปฏิกิริยาห่วงโซ่หลายห่วงทำงานพร้อมกัน ต่างต้องพยายามทำให้เกิดวงจรสะท้อนกลับไปกลับมา เขาพยายามอธิบายเพิ่มว่าไม่มีองค์ประกอบใดเพียงอย่างเดียวที่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเดียวของการเกิด พายุฮอริเคน ภัยแล้ง ไฟป่า ซึ่งก็เหมือนกับ “การทำให้คนเลิกสูบบุหรี่” เช่นกัน แต่ทุกองค์ประกอบล้วนสำคัญและมีความหมายที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง และนี่แปลว่าทุกคนต้องช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งของวงจรนี้ด้วย

และปัญหาของเรื่องการรณรงค์เรื่องมันยากขึ้นไปอีกตรง เรื่องนี้ คนส่วนใหญ่พอรู้ พอทราบ แต่รู้แล้วยังไงต่อล่ะ ซึ่งประโยคที่เด็ดที่สุดของหนังสือเล่มนี้ สำหรับผมคือ “น่าเสียดายนะแทนที่จะมีคนกลุ่มน้อยที่ไม่ชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรากลับมีคนกลุ่มใหญ่ที่เชื่อ แต่ไม่คิดจะทำอะไร”

ในภาวะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่าง #Climatechange” ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามสื่อสารว่า เรียกว่า Change เฉยๆ ไม่ได้แล้ว มันต้องเรียกว่า #ClimateCrisis ได้แล้ว ซึ่งก็น่าสนใจนะครับว่า Crisis จริงๆ แล้ว รากของคำนี้มาจาก กรีก ที่แปลว่า “ตัดสินใจ” และตรงมากๆ ว่า เราคงต้อง ตัดสินใจทำอะไรบางอย่างจริงๆ จังๆ แล้วล่ะ

ใครสนใจลองอ่านดูนะครับ เล่มนี้มีคำตอบว่า ต้องทำอะไรและแรงระดับไหนถึงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ

0 Comments

Share This

Share This

Share this post with your friends!