มองหลักสูตรนิเทศ-วารสารฯ ในอนาคต

มองหลักสูตรนิเทศ-วารสารฯ ในอนาคต

วันนักข่าวที่ผ่านมา มีนักข่าวมาสัมภาษณ์ผมเรื่อง “มุมมองหลักสูตรนิเทศ-วารสารศาสตร์ในอนาคตอย่างไร เลยอยากเอามาแชร์ใหฟังดูนะครับ ว่าผมคิดยังไง

ซึ่งโจทย์ใหญ่ ทีมสัมภาษณ์ วางประเด็นไว้ 2-3 ประเด็นดังนี้นะครับ
-มองหลักสูตรนิเทศฯ วารสารฯ ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาอย่างไร
-ปัจัยอะไรที่มีผล ต่อหลักสูตรนิเทศ วารสารฯ (ขยายต่อจากคำตอบด้านบน)
-เทรนด์การเรียนการสอนในอนาคตจะไปในทิศทางใด และอะไรที่ควรปรับเพิ่มมาเพื่อตอบรับกับสื่อในอนาคต

เลยตอบไปแล้ว ซึ่งปรากฏในบทสัมภาษณ์ ตามนี้ครับ

…สิ่งที่เห็นชัดเจนในหลักสูตร นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ในช่วง 5 ถึง 10 ปีที่ผ่านมา คือภาพรวมที่เป็นด้าน บวกมากขึ้น เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและ ปรับตัวของทุกสถาบันที่เกิดขึ้น พยายาม ที่จะทำให้เป็น “digital journalism” มาก ขึ้น และมีพื้นที่ให้นักศึกษาลองเล่น อะไรเยอะขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ ดี แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าคือ เทรนด์ ของนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ว่าใน อนาคตควรจะเป็นไปในทิศทางใด

“มีอยู่ 2 ประเด็น ที่อยากเห็น ในหลักสูตรคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯ ก็ตาม นั่นคือ

1.มีวิชาตัวเบา คือ การ เข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้ยึดติดกับอะไร และต้องพยายามปรับตัวได้เร็ว พร้อมที่ จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะว่าโจทย์วันนี้เปลี่ยนไป แค่ทักษะการอ่านออกเขียน ได้ ไม่เพียงพอแล้วในปัจจุบัน เพราะใน แต่ละวันนี้มีอะไรใหม่ๆ ให้เรียนรู้เสมอ เช่น Data literacy ความรอบรู้ด้านข้อมูล, Health literacy ความรอบรู้ ด้านสุขภาพ หรือแม้แต่ Digital literacy ทำให้มีความต้องการความรู้เฉพาะทาง เฉพาะด้าน มากขึ้น และบทบาทของ สื่อมวลชนต้องไวต่อเรื่องพวกนี้และปรับ เปลี่ยนได้ตลอดเวลา”

“เพราะทุกวันนี้ น้ำหนักข่าวไปอยู่ ในโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์ หลายๆ อย่างถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และเร็วขึ้น เช่น 3-4 ปีที่ผ่านมา video journalism มาแรงมากๆในบ้านเรา แต่ วันนี้งานวิจัยของต่างประเทศ บอกว่า เทรนด์ของปี 2562 นี้ วิดีโอจะลดลง
แต่เทรนด์ของ broadcast จะเพิ่มขึ้น และเทรนด์ของ Text ของตัวหนังสือ จะ เพิ่มขึ้นกลับมาทำให้คนอ่านอีกครั้ง ด้วย เงื่อนไขของการปรับ “อัลกอริทึม” ของ บริษัทที่เราใช้โซเชียลมีเดียกัน ฉะนั้นจะ ทำอย่างไรก็ได้ให้หลักสูตรนิเทศฯ วารสารฯ เหมือนมีวิชาตัวเบา” เขายกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น เช่น Data literacy นักข่าวควรรู้ว่าข้อมูลแบบ ไหนที่นักข่าวจะเข้าถึงได้ และแบบไหนเข้า ถึงไม่ได้ มารยาทของการเข้าถึง อะไร ที่สามารถนำไปเผยแพร่ได้ และมากน้อย แค่ไหน มันควรหรือไม่

เช่น กรณีที่ นักข่าวไปหาข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ นักร้องคนไทยที่ไปเติบโตโด่งดังในเกาหลี ถึงขั้นไปที่บ้านสัมภาษณ์ปู่ย่าตายาย แม้ ในมุมการเป็นคนสาธารณะ ควรเข้าถึงได้ แต่มารยาทในการเข้าถึงข้อมูล และนำ มาเผยแพร่เหมาะสมหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ เป็นหัวใจของคำว่า privacy เส้นแบ่ง ที่มักถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ประเด็น เหล่านี้จำเป็นต้องมี literacy ความฉลาดรู้ ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ

2. นักข่าวในอนาคต ควรมีความรู้แบบตัว “T” อันอาจจะดู สวนทางกันกับข้อแรก ที่ควรรู้ทุกเรื่อง เพราะนักข่าวจะถูกพูดถึงเสมอว่าเป็น เหมือน “เป็ด” รู้ได้ทุกอย่าง แต่ความรู้ แบบตัว T คือ การมีความรู้ที่ “เจาะลึก” เฉพาะทางที่ตัวเองควรจะเป็น มุมลึกที่ตัว เองสนใจเฉพาะด้านเป็นพิเศษ นักข่าวรู้ กว้างจริง แต่มุมของการรู้ลึก เรายังถูก ตั้งคำถามอยู่กันเยอะ สมัยก่อน

ถ้าบอก ว่านักข่าวทำอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่ก็เขียน ถ่ายรูป แต่ไม่เคยมีใครตั้งคำถามว่านักข่าว ควรจะรู้เรื่อง Coding หรือไม่ ควรจะรู้ เรื่องกระบวนการด้านข้อมูลหรือไม่ เช่น เวลาพูดถึง Data journalism มันคือ วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล ความสามารถ ของนักวารสารศาสตร์ จึงควรมีความรู้ ในเรื่องของ Data ด้านการเก็บข้อมูล ประมวลผลใช้ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ฟังดูเหมือนมันห่างไกลกันมาก แต่จุดที่ สำคัญคือ ตอนนี้ในสังคมเรามีข้อมูลเยอะ มาก เพราะฉะนั้น การทำข่าวที่มีความรู้กว้างรู้ลึก มันจะช่วยตอบโจทย์สังคม”

นักข่าวพยายามจะช่วยกันยกระดับ ให้สังคมมีความเป็นเหตุผล มีความรู้ หาข้อมูลได้ดีขึ้นหรือเปล่า เช่น เรื่อง ไสยศาสตร์ เรื่องลี้ลับ และเชื่อมโยงให้ มันเป็นเหตุเป็นผล คำถามคือคนในสังคม จะมีความเชื่อมั่นกับสื่อมวลชนมากน้อย แค่ไหน เพราะทุกวันนี้ ถึงขั้นมีคำพูด ที่ว่าใครๆ ก็เป็นนักข่าวได้ ก็เป็นอย่าง นั้นจริงๆ เพราะนักข่าวไม่ได้มีความ สามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ได้ ทุกเรื่อง

แต่กลับกัน ด้วยแพลตฟอร์ม อย่าง Social Media เช่น Facebook, Google มันช่วยให้คนที่อยู่ในเชิงลึก เรื่องนั้นๆ สามารถพูดด้วยภาษาของ เขา สื่อสารไปถึงคนอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งที่ อันนี้เป็นบทบาทของนักข่าว แต่นักข่าว ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นหรือบทบาทนี้ได้” “โจทย์จึงกลับมาที่ห้องเรียนของนิเทศฯ วารสารฯ ว่า การที่มี Active Learning คือห้องเรียนที่เป็นห้องทำงาน เป็นสนาม เรียนรู้ ลองของใหม่ๆ ตลอดเวลา มันจะ ช่วยหล่อหลอมคนอีกแบบหนึ่ง

ผมคิดว่า นี่เป็นหัวใจสำคัญ ที่การเรียนการสอน ในอนาคตควรจะปรับเพิ่ม หรือแม้แต่ คณะอื่นๆ การเรียนสาขาอื่นๆ ก็เป็น ไปในทางแนวโน้มแบบเดียวกัน เพราะ เทรนด์ของโลกเป็นไปแบบนี้ ทุกคนต้อง รู้ทุกกระบวนการ รู้ทุกอย่าง แต่ในขณะ เดียวกันก็ต้องมีโฟกัสของตัวเองด้วย มัน คือการ Balance กันในห้องเรียน ในสื่อ ปัจจุบันเองทุกวันนี้ผู้บริหารสื่อหลายคนรู้ อยู่แล้วว่าของหลายๆอย่างจะถูก Disruption ฉะนั้นการที่เขาถูก Disrupt กับการ ที่ Disrupt ตัวเอง ตัวผลลัพธ์มันต่างกัน เยอะ ถ้าถูก Disrupt นั่นคือนั่งรอ แต่ถ้า เรา Disrupt ตัวเอง เราก็จะได้ลองของ ใหม่ ล้มเอง เล่นเองก็จริง แต่ได้ของที่ ตัวเองกำหนดปลายทางได้…

สำหรับใครอยากอ่านความเห็นคนอื่นๆ ในเรื่องนี้ ติดตามได้ #นิเทศศาสตร์ Never Die
https://www.tja.or.th/books/34-journalist-day/4919–5-2561-