
“คุณได้ยินฉันไหม: ไม่มีใครเล็กเกินจะเปลี่ยนแปลงโลก” – เกรต้า ธุนเบิร์ก
Amarin How to / 355 บาท
หนังสือเล่มนี้มีสองส่วน ส่วนแรกเป็นการรวบรวมการพูดในที่ต่างๆ ของ เกรต้า ธุนเบิร์ก ในช่วงปี 2018 หลังจากที่เธอหยุดเรียนประท้วงเรื่องสภาพภูมิอากาศที่นอกรัฐสภาสวีเดน จนถึงปลายปี 2019 รวม 16 ครั้ง ในเวลาเพียง 13 เดือนเท่านั้น
ส่วนที่สองเป็นข้อเขียนที่ครอบครัวของเธอร่วมกันเขียนขึ้น โดยเฉพาะแม่ของเธอที่เล่าเรื่องต่างๆ ที่ทำให้เรารู้จักครอบครัว และตัวตนของเธอมากขึ้น
อย่างเช่นครอบครัวของเกรต้าที่คุณแม่เป็นนักร้อง Opera คุณพ่อเป็นมือเบสซึ่งทั้งสองนิยามตัวเองว่าเป็นคนทำงานด้านวัฒนธรรม Cultural worker ซึ่งทำงานอย่างมี passion ในงานที่ทำ สนใจประเด็นซีเรียสอย่างสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม และผู้อพยพ รวมถึงการอ่านหนังสือประเภทต่างๆทางสังคมวัฒนธรรมที่ช่วยหล่อหลอมวิธีคิดให้ลูกของเธอทั้งสองคนทั้งกีตาร์และบีเอสต้า
นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตของเกรต้าในวัย 11 ปีที่มีปัญหาด้านการกินอาหาร คือทานอาหารอะไรไม่ได้เป็นเวลากว่าสองเดือน ทำให้น้ำหนักจากเดิมที่ไม่มากอยู่แล้วลดลงไปกว่า 10 กิโล ส่งผลต่อปัญหาทางร่างกายทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำชีพจรความดันเลือดก็มีปัญหาต้องส่งตัวเข้าโรงพยาบาลดูแลปัญหาทางร่างกายและรวมถึงการวินิจฉัยสภาพทางจิตของเธอ
ในช่วงนั้นนักจิตวิทยาก็บอกกับแม่ของเธอว่าเกรต้ามีอาการ “แอสเพอร์เกอร์ซินโดรมแบบศักยภาพสูง” ซึ่งก็เป็นกลุ่มออทิสติกรูปแบบหนึ่งที่คนมีภาวะแบบนี้จะมีความสามารถพิเศษสูงในบางเรื่อง มีพัฒนาการไม่ต่างจากเด็กปกติ แต่จะมีปัญหาเรื่องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งในช่วงนั้น เกรต้าก็จะไม่พูดคุยกับใครเลย จะพูดคุยผ่านพ่อแม่เท่านั้น
ซึ่งปัญหาแบบที่เกรต้าเป็นอยู่ในโรงเรียนก็ยอมเป็นเรื่องแปลกสำหรับเพื่อนๆ และ แน่นอนเธอถูกแกล้งอย่างรุนแรง
ในอีกมุมนึงเกรต้าเป็นเด็กฉลาดเธอมีความทรงจำแบบภาพถ่าย มีความสามารถในการจำชื่อเมืองหลวงทั้งโลก ตารางธาตุ และอะไรที่เธอสนใจอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนกระทั่งเธอสนใจทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเอาคำตำหนิพ่อของเธอว่า “พ่อเพิ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไป 2.7 ตันจากการบินไปโน้นแล้วกลับมา นั่นเท่ากับการปล่อยก๊าซทั้งปีของคนห้าคนในเซเนกัล” จนในที่สุด ครอบครัวนี้ก็เลี่ยงการเดินทางด้วยเครื่องบิน และใช้รถยนต์ไฟฟ้าและเรือในการเดินทางข้ามประเทศแทน
ซึ่งก็ไม่ใช่แค่เกรต้าเท่านั้น แต่บีเอต้าน้องของเธอ ก็มีปัญหาโรคสมาธิสั้น ย้ำคิดย้ำทำ โรคดื้อต่อต้าน และมีอาการแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมด้วย คือยิ่งอ่านแล้วก็ยิ่งเห็นใจครอบครัวเธอมากๆ ซึ่งก็ด้วยความสตรองของคุณแม่ก็พยายามหาทางออกในหลายๆ ทางแม้แต่การเข้าฟังงานบรรยายด้านจิตเวชวัยรุ่น ทำให้เราได้รู้ว่า ความไม่เท่าเทียมทางเพศของการศึกษาทางจิตเวชในวัยรุ่นเป็นอย่างไร เพราะการวินิจฉัย การประเมินการรักษา และข้อมูลต่างๆ ถูกอ้างอิงมาจากเด็กผู้ชายเท่านั้น
แต่หนังสือก็ไม่ได้เศร้าขนาดนั้น เพราะก็มีเบื้องหลังฉากสำคัญที่เกรต้าหยุดเรียนประท้วง โดยการเตรียมตัวศึกษา พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ผ่านพ่อแม่ของเธอ การทำวิจัยฉบับย่อยๆ ว่าสื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศมากแค่ไหน และรวมถึงการเตรียมป้ายหยุดเรียนประท้วงด้วยเงินเพียง 20 โครนา (71 บาท) แต่เขย่าให้โลกฟังเธอ

ใครสนใจลองหาอ่านได้ครับ และกำไรของหนังสือเล่มนี้ เกรต้าและครอบครัวจะมอบให้องค์กรการกุศลต่างๆ แปดแห่งที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม เด็กที่เป็นโรค และสิทธิสัตว์ด้วย